หัวข้อ   “คะแนนนิยมของคนกรุงเทพฯ ในช่วงโค้งที่ 2 ของการเลือกตั้ง 54”
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3,323 คน  โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 2 - 9
มิถุนายน ที่ผ่านมา  พบว่า ในการเลือกตั้ง ส.ส ระบบบัญชีรายชื่อ คนกรุงเทพฯ ระบุว่าจะเลือก
พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 33.6  (เพิ่มขึ้นจากผลการสำรวจครั้งก่อน  เมื่อวันที่ 20 – 22 พ.ค.
ร้อยละ 7.8)   จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 17.1 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4)   และจะเลือก
พรรครักประเทศไทย ร้อยละ 3.2 (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.2)   อย่างไรก็ตามมีถึงร้อยละ 44.1
ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบแบ่งเขตพบว่า  คนกรุงเทพฯ  ระบุว่าจะเลือก
ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 33.8 (เพิ่มขึ้นจากผลการสำรวจครั้งก่อน เมื่อวันที่ 20 – 22
พ.ค. ร้อยละ 7.5)   จะเลือกผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 17.6 (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.4)
และจะเลือกผู้สมัครของพรรครักษ์สันติ ร้อยละ 1.3 (เท่ากับผลสำรวจครั้งก่อน) อย่างไรก็ตาม
มีถึงร้อยละ 46.4 ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่า จะเลือกผู้สมัครของพรรคใด โดยเกณฑ์ที่คนกรุงเทพฯ
ใช้ในการเลือก ส.ส. ระบบแบ่งเขตคือ   เลือกจากคุณสมบัติและผลงานในอดีตของผู้สมัคร
(ร้อยละ 49.4)  รองลงมาคือ  เลือกจากนโยบายที่ใช้หาเสียง (ร้อยละ 31.6)   และเลือก
จากพรรคการเมืองที่สังกัด (ร้อยละ 19.0)
 
                 ทั้งนี้เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายเขตพบว่า พรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำอยู่ 21 เขต ได้แก่ เขต 3 เขต 4 เขต 5
เขต 7 เขต 8 เขต 10 เขต 11 เขต 12 เขต 13 เขต 14 เขต 16 เขต 17 เขต 18 เขต 20 เขต 23 เขต 24 เขต 26
เขต 27 เขต 29 เขต 32 และเขต 33 ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนนำใน 6 เขต ได้แก่ เขต 1 เขต 2 เขต 15 เขต 19
เขต 22 และเขต 30  ส่วนอีก 6 เขตทั้ง 2 พรรคมีคะแนนสูสีกันได้แก่ เขต 6 เขต 9 เขต 21 เขต 25 เขต 28 และเขต 31
   
                 เมื่อสอบถามว่าอยากได้ใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุดพบว่าอยากได้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ร้อยละ 42.6 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7)  รองลงมาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ร้อยละ 23.6 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2)
ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์  ร้อยละ 3.9 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0)  และ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ร้อยละ 2.4 (ลดลงร้อยละ 1.2)
ขณะที่อีกร้อยละ 27.5 ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใครดี
   
                 สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพไม่อยากเห็นมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้พบว่า อันดับแรกได้แก่ การซื้อสิทธิ์
ขายเสียง (ร้อยละ 23.2)  รองลงมาคือ การก่อกวน ข่มขู่ ทำร้ายผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม (ร้อยละ 20.5)   และการหาเสียงด้วย
วิธีใส่ร้ายป้ายสี (ร้อยละ 20.1)
   
                 ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ
และบริสุทธิ์ยุติธรรมพบว่า  ร้อยละ 66.9 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย  (เพิ่มขึ้นจากผลการสำรวจเมื่อวันที่ 20 – 22 พ.ค.
ร้อยละ 0.8)   ขณะที่ร้อยละ 33.1 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
   
                 โปรดพิจารณารายละเอียดใน รายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความตั้งใจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันที่ 3 กรกฎาคม พบว่า

 
ร้อยละ
ตั้งใจว่าจะไป
  - โดยจะเลือกลงคะแนน ร้อยละ  89.3
  - โดยจะเลือกช่องไม่ลงคะแนน (Vote No) ร้อยละ   4.7
94.0
ตั้งใจว่าจะไม่ไป
โดยสาเหตุที่คิดว่าจะไม่ไปเลือกตั้ง เพราะ
  - เบื่อหน่ายการเมือง ร้อยละ  1.1
  - ทำงาน ติดธุระ ไปต่างจังหวัด ร้อยละ  0.9
  - ไม่เคยไปเลือกอยู่แล้ว ร้อยละ  0.4
  - เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย ร้อยละ  0.3
42.9
ไม่แน่ใจ
3.3
 
 
             2. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือก ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ (3 อันดับแรก)
                 (ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง)

 
สำรวจครั้งที่ 1
วันที่ 20 – 22 พ.ค. 54
(ร้อยละ)
สำรวจครั้งที่ 2
วันที่ 2 – 9 มิ.ย. 54
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น /
ลดลง
(ร้อยละ)
จะเลือกพรรคเพื่อไทย
25.8
33.6
+ 7.8
จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์
14.7
17.1
+ 2.4
จะเลือกพรรครักประเทศไทย
2.0
3.2
+ 1.2
ยังไม่ตัดสินใจ
52.0
44.1
- 7.9
 
โดยเกณฑ์ที่ใช้เลือกผู้สมัคร ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ในการสำรวจครั้งที่ 2 (วันที่ 2 - 9 มิ.ย. 54) พบว่า
  - เลือกจากคุณสมบัติและผลงานของผู้มีรายชื่อในระบบ
  บัญชีรายชื่อของพรรค
ร้อยละ  44.9
  - เลือกจากนโยบายที่พรรคใช้หาเสียง ร้อยละ  39.5
  - เลือกจากชื่อเสียงของพรรค ร้อยละ  15.6
 
 
             3. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือก ส.ส. ในระบบแบ่งเขต (3 อันดับแรก)
                 (ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง)

 
สำรวจครั้งที่ 1
วันที่ 20 – 22 พ.ค. 54
(ร้อยละ)
สำรวจครั้งที่ 2
วันที่ 2 – 9 มิ.ย. 54
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น /
ลดลง
(ร้อยละ)
จะเลือกผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย
26.3
33.8
+ 7.5
จะเลือกผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์
15.2
17.6
+ 2.4
จะเลือกผู้สมัครของพรรครักษ์สันติ
1.3
1.3
-
ยังไม่ตัดสินใจ
51.9
46.4
- 5.5
 
โดยเกณฑ์ที่ใช้เลือกผู้สมัคร ส.ส. ระบบแบ่งเขต ในการสำรวจครั้งที่ 2 (วันที่ 2 - 9 มิ.ย. 54) พบว่า
 
เฉลี่ยรวม
(ร้อยละ)
พิจารณาเฉพาะ
ผู้ที่เลือก
พรรคเพื่อไทย
(ร้อยละ)
พิจารณาเฉพาะ
ผู้ที่เลือก
พรรคประชาธิปัตย์
(ร้อยละ)
เลือกจากคุณสมบัติและผลงานในอดีตของผู้สมัคร
49.4
55.4
46.7
เลือกจากนโยบายที่ใช้หาเสียง
31.6
28.8
26.2
เลือกจากพรรคการเมืองที่สังกัด
19.0
15.8
27.1
รวม
100.0
100.0
100.0

                      เมื่อแยกพิจารณาแบบรายเขตพบว่า  พรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำ 21 เขต   ขณะที่พรรค
            ประชาธิปัตย์มีคะแนนนำ 6 เขต ส่วนอีก 6 เขตมีคะแนนสูสีกัน ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่
พรรคเพื่อไทย
มีคะแนนนำ
พรรคประชาธิปัตย์
มีคะแนนนำ
คะแนนสูสีกัน
1
 
 
2
 
 
3
   
4
   
5
   
6
   
7
   
8
   
9
   
10
   
11
   
12
   
13
   
14
   
15
 
 
16
   
17
   
18
   
19
 
 
20
   
21
   
22
 
 
23
   
24
   
25
   
26
   
27
   
28
   
29
   
30
 
 
31
   
32
   
33
   
 
 
             4. คนกรุงเทพฯ อยากได้ใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
สำรวจครั้งที่ 1
วันที่ 20 – 22 พ.ค. 54
(ร้อยละ)
สำรวจครั้งที่ 2
วันที่ 2 – 9 มิ.ย. 54
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น /
ลดลง
(ร้อยละ)
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
26.9
42.6
+ 15.7
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
17.4
23.6
+ 6.2
ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
2.9
3.9
+ 1.0
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์
3.6
2.4
- 1.2
ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใคร
49.2
27.5
- 21.7
 
 
             5. สิ่งที่ไม่อยากเห็นมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ  

 
ร้อยละ
การซื้อสิทธิ์ขายเสียง
23.2
การก่อกวน ข่มขู่ ทำร้ายผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม
20.5
การหาเสียงด้วยวิธีใส่ร้ายป้ายสี
20.1
การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อต่างๆ
19.7
การพัง/ทำลายป้ายหาเสียงของคู่แข่ง
16.5
 
 
             6. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ
                 และบริสุทธิ์ยุติธรรม พบว่า

สำรวจครั้งที่ 1 (วันที่ 20 – 22 พ.ค. 54)
สำรวจครั้งที่ 2 (วันที่ 2 - 9 มิ.ย. 54)
ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
(โดยแบ่งเป็น
   - ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 48.3
   - ไม่เชื่อมั่นเลย  ร้อยละ 17.8 )
ร้อยละ 66.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
(โดยแบ่งเป็น
   - ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 51.5
   - ไม่เชื่อมั่นเลย  ร้อยละ 15.4 )
ร้อยละ 66.9
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
(โดยแบ่งเป็น
  - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 24.3
  - เชื่อมั่นมาก  ร้อยละ 9.6 )
ร้อยละ  33.9 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
(โดยแบ่งเป็น
  - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 23.0
  - เชื่อมั่นมาก  ร้อยละ 10.1 )
ร้อยละ  33.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม
2554 ในประเด็นต่อไปนี้
                  1. ความตั้งใจที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
                  2. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อและเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือก
                  3. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบแบ่งเขต และเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือก
                  4. คนที่คิดว่าเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด
                  5. สิ่งที่ไม่อยากเห็นมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้
                  6. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์
                      ยุติธรรม
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ  ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยการสุ่มถนน จากนั้น
จึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว  ได้กลุ่มตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 3,323 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.5 และเพศหญิงร้อยละ 51.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  2% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  2 - 9 มิถุนายน 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 12 มิถุนายน 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
1,613
48.5
             หญิง
1,710
51.5
รวม
3,323
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
737
22.2
             26 – 35 ปี
789
23.7
             36 – 45 ปี
844
25.4
             46 ปีขึ้นไป
953
28.7
รวม
3,323
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
2,215
66.6
             ปริญญาตรี
917
27.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
106
3.2
             ไม่ระบุระดับการศึกษา
85
2.6
รวม
3,323
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
381
11.5
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
660
19.9
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
953
28.6
             รับจ้างทั่วไป
492
14.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
402
12.1
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน นักศึกษา
435
13.1
รวม
3,323
100.0
รายได้ต่อเดือน:
 
 
             น้อยกว่า 5,000 บาท
520
15.7
             5,001 – 10,000 บาท
998
30.0
             10,001 – 20,000 บาท
1,033
31.0
             20,001 – 30,000 บาท
414
12.5
             30,001 – 40,000 บาท
179
5.4
             40,001 – 50,000 บาท
85
2.6
             มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป
94
2.8
รวม
3,323
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776